วันพุธที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 16 วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ.2559. (เรียนชดเชย)



        ตอนแรกอาจารย์ให้เอาอุปกรณ์มาทำของที่ต้องใช่สอนในแผน และแต่งนิทานในหน่วยของกลุ่มตัวเอง 
       หลังจากนั้นอาจารย์ได้สอนเขียนแผน
            




ทักษะ
 -การวางแผน
 -การคิดวิเคาระห์
การนำไปใช้ 
 -ในไปใช้ในการเรียน
บรรยากาศในห้องเรียน
-วันนี้คนมาน้อย ทุกคนตั้งใจเรียน 
ประเมินอาจารย์ 
-อาจารย์คอยแนะนำและหาอุปกรณ์ที่เราต้องการให้ตลอด
คุณธรรมจริยธรรม 
 - ความตรงต่อเวลา
 -ความรับผิดชอบ
 

การบันทึกครั้งที่ 15 วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น


           ความรู้ที่ได้รับ

                            วันนี้อาจาร์ให้ออกมาสอนแผนการสอนของแต่ละคน
                    
          กลุ่มที่แรก ชนิดของรถ(วันจันทร์)
                     ขั้นนำ ท่องคำคล้องจอง
                     ขั้นสอน  ให้เด็กๆดูรูปบ้านแล้วก็นับจำนวน หลังจากนั้นก็ให้เด็กแยกว่ารูปไหนเป็นรูป                                    บ้านไม้ รูปไหนไม่ใช่บ้านไม้ แล้วก็มานับว่าบ้านไม้มีกี่หลังไม่ใช่บ้านไม้มีกี่หลัง 
                     ขั้นสรุป จำนวนบ้านไม้มีกี่หลังไม่ใช่บ้านไม้มีกี่หลัง และ รูปบ้านแบบไหนมากกว่ากัน

       
         กลุ่มที่สอง การดูแลรักษารถ (วันพุธ)
                      ขั้นนำ  ท่องคำคล้องจอง
                      ขั้นสอน วิธีการดูแลรักษารถมีอะไรบ้างให้เด็กดูรูป          
                      ขั้นสรุป  การดูแลรักษารถมีอะไรบ้างเด็กๆรู้จักอะไรบ้าง
      

      กลุ่มที่สาม  การดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้า (วันพุธ)

      กลุ่มที่สี่ การดูแลรักษาร่างกาย (วันพุธ)
                  
      กลุ่มที่ห้า การดูแลรักษาความสะอาดบ้าน (วันพุธ)
                    ขั้นนำ เอารูปภาพบ้านที่ไม่ได้ทำความสะอาดมาค่อยๆเปิดให้เด็กดู 
                    ขั้นสอน เอารูปอุปกรณ์ทำความสะอาดมาถามเด็ก และให้เด็กแยก
                    ขั้นสรุป ถามเด็กว่ารู้จักวิธีอะไรอีกบ้าง
  
      กลุ่มที่หก ประโยชน์ของร่างกาย  (วันพฤหัสบดี)


  ทักษะ

      - การแก้ปัญหา
      - การคิดวิเคราะห์
      -  การวางแผน

การนำไปประยุกต์ใช้

      - นำไปใช้ในการสอนในอนาคต

บรรยากาศในห้องเรียน

       - สนุกสนาน เพื่อนๆให้คำร่วมมือ

ประเมินอาจารย์

       - อาจารย์ให้คำแนะนำเป็นอย่างดี อธิบายให้เดฝ้กเข้าใจ

คุณธรรมจริยธรรม

       - ความตรงต่อเวลา
       - ความรับผิดชอบ
       - ความมีน้ำใจ
       


วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 14 วันศุกร์ ที่ 1 เมษายน พ.ศ.2559  เวลาเรียน 13.30-17.30 น.

       

            ความรู้ที่ได้รับ

                       มันนี้มีการนำเสนองาน สองคน
                            1.นางสาวอันทิรา  จำปาเกต ตัวอย่างการสอน ครูมืออาชีพ คณิตศาสตร์ในชีวิต                                     ประจำวัน
                            2.นางสาวอรณัฐ สร้างสกุล วิจัยเรื่อง คณิตศาสตร์แนวมอนเตสเซอรี่







จาดนั้นเข้าสู่การเรียนโดยการให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาสอนตามวันที่อาจารย์ได้กำหนดไว้
                                  1.นำเข้าสู่บทเรียน
                                  2.เชื่อมโยง
                                  3.บันทึกเพื่อเป็นตัวอย่าง
                                  4.ถามเด็กเพื่อถามประสบการณ์
                                  5. เข้าสู่บทเรียน
นำเสนอแต่ละกลุ่มตามวันที่อาจารย์กำหนด
กลุ่มสอนวันอังคาร (หน่วยรถ)
ชั้นนำ ปริศนาคำทายที่เกี่ยวกับลักษณะของรถ ส่วนประกอบของรถว่ามีอะไรบ้าง



กลุ่มสอนวันจันทร์ (หน่วยอวัยวะ)



กลุ่มสอนวันอังคาร (หน่วยเครื่องใช้ไฟฟ้า)


กลุ่มสอนวันจันทร์ (หน่วยจับคู่ภาพเงา)


ทักษะ

-การทำงานเป็นกลุ่ม
-การคิดวิเคราะห์
-สาระคณิตศาสตร์
-การวางแผน

การนำไปประยุกต์ใช้

-ใช้ในการสอนในอนาคต

บรรยากาศในห้องเรียน

-สนุกสนาน เพื่อนๆตั้งใจเรียน 

ประเมินการสอน

อาจารย์อธิบายแนวทางการนำไปสอนได้ละเอียดเข้าใจง่าย

คุณธรรมจริยธรรม

-ความรับผิดชอบ
-ความตรงต่อเวลา
-ช่วยเหลือผู้อื่น

การบันทึกครั้งที่ 13 วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559  เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
             วันนี้เพื่อนนำเสนองาน 3 คน 
                  1.นางสาววิจิตรา  เสริมกลิ่น บทความเรื่องเสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
                  2.นางสาวศิริพร   พันโญศรัณยา ตัวอย่างการสอนเรื่องการเรียนรุ้คณิตศสาตร์ เรียนรู้การนับ                      จำนวน
                  3.นางสาวจีรวรรณ งานขำ วิจัยเรื่อง ผลของการจัดกิจกรรมประกอบอาหารที่มีต่อทักษะพื้น                      ฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
จากนั้นอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดวิธีการสอนในหน่วยที่ตัวเองได้เลือกไว้และอาจารย์ให้นักศึกษานั่งเป็นกลุ่มแล้วให้เรียงตามวัน เริ่มจากวันจันทร์ถึงวันศุกร์  









ทักษะ

- การแก้ปัญหาด้วยตนเอง
- การคิดและวางแผน
- การคิดวิเคราะห์

การนำไปประยุกต์ใช้

- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสอนในอนาคตได้

บรรยากาศในห้องเรียน

- เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินวิธีการสอน

-อาจารย์สอนเข้าใจอธิบายละเอียด

คุณธรรมจริยธรรม

-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบ

การบันทีกครั้งที่ 12 วันศุกร์ ที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2559  เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

     ความรู้ที่ได้รับ

           อาจารยืได้มอบหมายให้นักศึกษาทำ mind mapping เป็นกลุ่มและให้นักศึกษาเลือกหน่วยที่เราจะสอน กลุ่มละ 5 คน กลุ่มดิฉันเรื่องรถ มีหัวข้อดังนี้ 
            - ประเภท
            - องค์ประกอบ
            - วิธีการดูแลรักษา  
            - ประโยชน์
            - โทษ/ข้อควรระวัง
อาจารย์ได้อธิบายวิธีการเขียน  mind mapping ที่ถูกต้อง ต้องเริ่มทำตั้งแต่ด้านขวา แล้วต้องแตกเหมือนกิ่งไม้







ทักษะ 

 -ทำงานเป็นกลุ่ม
 - คิดวิเคราะห์
 - แก้ปัญหา

การนำไปประยุกต์ใช้

 - นำไปใช้กับวิชาอื่นๆได้

บรรยากาศในห้องเรียน

- เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียน  สนุกสนาน

ประเมินการสอน

- อาจารย์อธิบายวิธีการเขียน mind mapping อย่างละเอียด เข้าใจง่าย

คุณธรรมจริยธรรม

-ความตรงต่อเวลา
-ความรับผิดชอบ


การบันทีกครั้งที่ 11 วันศุกร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


            * อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองเนื่องจากห้องเรียนไม่สะดวกในการจัดการเรียนการสอน

การบันทึกครั้งที่ 10 วันศุกร์ ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2559 เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

   ความรู้ที่ได้รับ

          ในสัปดาห์นี้นำเสนองาน และมีกิจกรรมกลุ่ม 3 คนที่ได้นำเสนองานได้แก่
                1.นางสาวปฐมพร  จันวิมล บทความเรื่องคณิตศาสตร์ระดับปฐมวัยกับการเล่นรอบตัว
                2.นางสาวกษมา  แดงฤทธิ์ ตัวอย่างการสอนเรื่องสื่อการสอนเรื่องการบวก
                3.นางสาวนภัสสร  คล้ายพันธ์ วิจัยเรื่องการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอนุบาล                    2 โดยใช้กิจกรรมเสรีตามแนวคิดไฮสโคป
            และได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยการตัดกระด่ษเป็นรูปสี่เหลี่ยม นาวตั้ง9 นิ้ว แนวยาว 7 นิ้ว อาจรย์ให้ลังมาเป็นกลุ่ม กลุ่มนึงจะตัดได้ 5 แผ่น ตัวเสร็จ ก็แบ่งครึ่งของแนวตั้ง 6 นิ้ว แล้วก็แปะแท็บสีตรงกลางและติดแผ่นใส









ทักษะ

  - การทำงานเป็นกลุ่ม
  - การแก้ปัญหา
  -รู้จักวางแผน

การนำไปประยุกต์ใช้

 -เรขาคณิต การวัด รูปทรงที่ตัดออกมา สามารถนำปประยุกต์ใช้ในการสอนได้หลายแบบ

บรรยากาศในห้องเรียน

- สนุกสนาน ได้พูดคุย ร่วมกันทำกิจกรรม

ประเมินวิธีการสอน

 - อาจารย์อธิบายวิธีการวัดต้องวัดแบบไหนต้องตัดแบบไหน อย่างละเอียด

คุณธรรมจริยะธรรม

 - ตรงต่อเวลา
 - รู้จักหน้าที่ของตน
 - ช่วยเหลือผู้อื่น
  







การบันทึกครั้งที่ 9 วันพุธ ที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 เวลา 08.00-15.00น.



จากการที่ไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์มา สื่อการสอนมีโทรทัศน์ รูปทรงตัวเลข ก้อนหิน 

กิจกรรมหรือการสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องส่งเสริมทักษะคณิตศาสตร์
  • เรียนเกี่ยวกับจำนวนเงิน เด็กได้นับและเขียนลงกระดาษ
  
วัดและประเมินผล
    • พูดคุยกับเด็ก
    • สังเกตกิจกรรมที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์
    • สังเกตพัฒนาการเด็ก


 














วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 8 วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559  เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.


                   *  ในสัปดาห์นี้มีการสอบกลางภาค

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 วันศุกร์ที่ 19กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ได้แจกไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมันให้ โดยจะมีไม้อยู่สามขนาดคือ ไม้สั้น ไม้กลาง ไม้ยาว ได้อย่างละ 6 อัน แล้วอาจารย์ก็สั่งให้ทำรูปสามเหลี่ยมโดยใช้วัสดุที่มี


ต่อมาอาจาร์ก็สั่งให้ทำรูปทรงสามเหลี่ยม 

แล้วก็รูปสี่เหลี่ยม

แล้วก็รูปทรงสี่เหลี่ยม
หลังจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายวิธีการสอนและขั้นตอนในการนำเสนอคือ
วิเคราะห์โจทย์ แนวคิด --> ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ --> ลงมือทำ --> ผลงาน --> นำเสนอ 
อาจารย์บอกว่าโจทย์มีวิธีการทำที่หลากหลายมีอิสระในการเลือกทำ ให้เกิดการเรียนรู้แก้ปัญหาและเวลามองรูปทรงต่างมุมรูปทรงก็จะไม่เหมือนเดิม
และเพื่อนๆได้นำเสนองาน
ทักษะ
-รู้จักแก้ไขปัญหา
-บูรณาการคณิตศาสตร์กับศิลปะ
-ได้ลงมีปฏิบัติ

การประยุกต์ใช้
-ให้เด็กเลือกทำอย่างอิสระแต่สามารถทำตรงกับโจทย์ที่ให้ 

บรรยากาศในห้องเรียน 
- เพื่อนๆไม่ค่อยคุย ทุกคนตั้งใจเรียน

ประเมินวิธีการสอน 
- อาจารย์สอนให้เราแก้ปัญหาโดยให้เราคิดวิธีเองและสุดท้ายอาจารย์ก็จะมาคอยสรุปให้

คุณธรรมจริยะธรรม
- มีความรับผิดชอบ
-มีน้ำใจ
-ตรงต่อเวลา

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 12กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      ในวันนี้อาจารย์ได้แต่กระดาษคนละ 1 แผ่นและตีเส้นเป็น 2 ช่องกับ 3 ช่องในแนวตรงแต่ละช่องจะเว้น 1 เซนมี 10 ช่องในแนวยาว แล้วอาจารย์ก็ได้ให้เรา ระบายสีลงไปในช่องสี่เหลี่ยมสองช่อง ว่าได้กี่รูปและสามช่องว่าได้กี่รูป 

              กระดาษที่อาจารย์ให้ทำ

จากนั้นเพื่อนออกไปนำเสนอสามคน
คนแรก บทความเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัย
คนที่สอง สรุปวีดีโอการสอนเรื่องAbout kids 3
คนที่สาม  วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูคลิป การจัดการเรียนรู้แบบProject Approdch ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ว่าสิ่งไหนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง แล้วเกี่ยวกับอะไร 

ทักษะ
-การลงมือปฎิบัติ
-การฝึกฝน
-การลองผิด ลองถูก
-การคิดวิเคราะห์
-การสังเกต

การประยุกต์ใช้
กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในห้องเรียนเราสามารถให้เด็กเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสต์ในด้านต่างๆได้

บรรยากาศในห้องเรียน
-ทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันคิดและตอบคำถามแต่จะมีตอนท้ายท้ายที่รู้สึกง่วงนอน

ประเมินวิธีการสอน
-อาจารย์สอนให้รู้จักคิด เพื่อตอบคำถาม
-สอนวิธีการเรียนรู้ในแบบของเด็ก

คุณธรรมจริยธรรม
-มีความรับผิดชอบ
-ตรงต่อเวลา

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5 วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้เอาป้ายชื่อจากสัปดาห์ที่แล้วไปแปะ ที่ตารางเวลามี ก่อน7โมง 7โมง และหลัง7โมง อาจารย์ได้อธิบายให้ฟังว่าแบบนี้ไม่สามารถใช้กับเด็กได้เพราะเด็กไม่สามารถจำเวลาได้ ถ้าจะทำกิจกรรมแบบนี้ควรให้เด็กจดบันทึกหรือให้ผู้ปกครองเป็นคนเขียน กิจกรรมนี้เด็กจะได้รู้เวลาก่อนหลัง ได้การนับจำนวน และกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในห้องเรียนแต่เกิดจากผู้ปกครองและความรู้รอบตัว
    กิจกรรมต่อมาอาจารย์เขียนเลขมา 4 ชุด แล้วก็ถามว่าเกี่ยวอะไรกับอาจารย์บ้าง 
หลังจากนั้นอาจารย์เอาสื่อปฏิทินมาให้ดู  ว่าสามารถประยุกต์ใช้สอนอะไรเด็กได้บ้าง คือสามารถสอนเรื่องสี การจัดหมวดหมู่ ตัวเลข เวลา บอกวันที่ผ่านมาได้ ได้รู้ก่อนหลัง 
   เกมการศึกษามี8ประเภท
ต่อมาเพื่อนนำเสนองาน วันนี้นำเสนอ4คน
คนแรก นางสาววนิดา สาเมาะ วิจัยเรื่อง การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ด้านการละเล่น
คนที่สองนางสาวปรีชญา. ชื่นแย้ม นำเสนอตัวอย่างการสอน
คนที่สาม นางสาวเรณุกา. บุญประเสริฐ วิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยจากศิลปะสื่อผสม
คนที่4 รุ่นพี่ บทความเรื่องสอนคณิตอย่างไรให้สนุก 
หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอของเล่น
  
ทักษะ
-ได้รู้จักเวลาก่อนหลัง
-ได้การนับจำนวน
-การจัดหมวดหมู่

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคตเราสามารถประยุกต์กิจวัตรประจำวันมาสอดแทรกความรู้ให้กับเด็กได้


บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน ไม่ค่อยเครียด

ประเมินวิธีการสอน
-อาจารย์สอนละเอียด
-อธิบายจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจ
-สอนให้เห็นถึงสถานการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
-ตรงต่อเวลา


  

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559. เวลาเรียน. 13.30 - 17.30

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ได้แจกแผนการสอน แล้วให้กระดาษแข็งมาคนละ 1ใบ ให้นักศึกษาเขียนชื่อของตัวเองลงไป และนำไปแปะบนกระดานในช่องของคนมาเรียน แล้วเขียนชื่อคนไม่มาไปแปะไว้ในช่องไม่มาเรียน จะได้รู้ว่าวันนี้นักเรียนขาดกี่คน มากี่คน
     จากกิจกรรมนี้นักเด็กจะได้ทักษะการนับ นับโดยการเพิ่ม บอกจำนวนได้ รู้จักเลขฮินดูอาราบิก รู้จักการเปรียบเทียบ บวกลบเลข ได้การเลียงลำดับใครมาคนแรก 
     ซึ่งเป็นกิจกรรมบูรณาการ ไม่ได้ตั้งใจสอนโดยเฉพาะ

กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์นี้ เลขที่ 1 2 4 เป็นคนนำเสนอ
คนแรก นางสาวสุริยาพร กลั่นบิดา นำเสนองานวิจัย นำเสนอ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
    -เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ที่ต่างกัน 
    -เด็กสามารถเรียนรู้จากรูปธรรมไปนามธรรม
    -เรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว

คนที่สอง นางสาวประวีณา หงสุด นำเสนอ VDO การสอน เจ้าแกะจอมฉลาด 
       เป็นวิธีการบวกเลขโดยวิธีการธรรมชาติ คือ การนับนิ้ว การร้องเพลง เช่น การบวกเลขหน้ามือกับหน้ามือ หลังมือกับหลังมือ และหน้ามือกับหลังมือ

คนที่สาม นางสาวปรียา นักทำนา นำเสนอบทความ ห้วข้อ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      - การนับ การรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
 ต่อมาอาจารย์อธิบายเนื้อหาการเรียนเรื่อง "ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
     - 1.การมีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
     -2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
     -3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
อาจารย์นำร้องเพลงคณิตศาสตร์

ทักษะ 
-การนับจำนวน
-การคิดวิเคาระห์
-การเปรียบเทียบ
-การบวก

การประยุกต์ใช้ 
สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตโดยการบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆหรือของที่อยู่ภายในห้อง

บรรยากาศในห้องเรียน
ในห้องเรียน มีความเป็นกันเอง ไม่เครียด สนุกสนาน 

ประเมินวิธีการสอน
-สอบให้ประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ
-สอนให้นักเรียนมีส่วนร่วม 
-สอนให้เห็นถึงสถานการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม
-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน


การบันทึกครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

*ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แตอาจารย์ได้มอบหมายงานให้สรุปงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย 

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2559

สรุปบทความ

เรื่อง    เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์

  คณิตศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดทำให้มนุษย์คิดอย่าง มีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผนตลอดจนมีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้เด็กประถมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตชอบเรียนและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว โดยวิชาคณิตศาสตร์จะสามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติและสิ่งต่างๆรอบตัวได้เป็นอย่างดีการที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆคณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
            มาตรฐานการเรียนรู้เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็กรวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับตรวจสอบและประเมินผลมาตรฐานการเรียนรู้จัดให้ อยู่ใต้สาระหลักดังนี้
         สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินมาตรฐาน ค.ป.1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง
         สาระที่ 2 การวัดมาตรฐาน ค.ป.2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตรเงินและเวลา 
         สาระที่ 3 เรขาคณิต มาตรฐาน ค.ป.3.1. รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ ทิศทาง และระยะทาง
มาตรฐาน ค.ป.3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิตและเข้าใจการ เปลี่ยนรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
        สาระที่ 4 พีชคณิตมาตรฐาน ค.ป.4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
        สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็นมาตรฐาน ค.ป.5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ
         สาระที่ 6 ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์การจัดการประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตามความเหมาะสมกับระดับอายุ
      คุณภาพทางคณิตศาสของเด็ก 3 ปีความสามารถดังนี้
 1. มีความรู้ความเข้าใจและพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน นับไม่เกิน 5 และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาสามารถเปรียบเทียบและใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาวน้ำหนักและปริมาตรสามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งสามารถใช้คำบอกตำแหน่งของสิ่งต่างๆรู้จักทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากในชีวิตประจำวันและใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากสร้างสรรค์งานศิลปะ
  คุณภาพทางคณิตศาสของเด็กอายุ 4 ปีควรมีความสามารถดังนี้
1. มีความรู้ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกิน 10 และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร และเวลาสามารถเรียงลำดับ ความเย็น และเรียงลำดับกิจกรรมเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งสามารถใช้คำบอกตำแหน่งและแสดงของสิ่งต่างๆสามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากและใช้ทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กล้วยทรงกระบอกสร้างสรรค์งานศิลปะ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบรู้ของลูกที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถทำตำแหน่งสามารถทำตามรูปแบบที่กำหนด
  คุณภาพทางคณิตศาสของเด็กอายุ 5 ปีคนมีความสามารถดังนี้
มีความรู้ความเข้าใจและ มีพัฒนาการความรู้สึกเชิงจำนวนเกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกิน 20 และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาวน้ำหนักปริมาตรและเงินสามารถวัดและบอกความยาวน้ำหนักและปริมาตรโดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่มาตรฐานสามารถเรียงลำดับชื่อวันใน 1 สัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวานวันนี้พรุ่งนี้เข้าใจเกี่ยวกับเงินสามารถบอกชนิดและค่าของเงินและธนบัตร
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตำแหน่งทิศทางและระยะทางสามารถใช้คำบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทางและ และแสดงตำแหน่งทิศทางและ ระยะทางของสิ่งต่างๆสามารถจำแนกทรงกลมทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากกลัวยทรงกระบอกและจำแนกรูปวงกลมรูปสามเหลี่ยมรูปสี่เหลี่ยมสามารถอธิบายเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิต 2 มิติที่เกิดจากการตัดต่อเติมพับหรือคลี่ และสร้างสรรค์งานศิลปะจากรูปเรขาคณิตสามมิติและ 2 มิติ
4. มีความรู้ความเข้าใจแบบของรูปที่มีรูปร่างขนาดสีที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่งสามารถตอบแบบรูปที่กำหนดและสร้างเพิ่ม
5. มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิอย่างง่าย

สรุปวิจัย

เรื่อง : การส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการเล่า "นิทานคณิต"


            การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสของเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน"คณิต" ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างแล้วเลือกเด็กที่ได้คะแนนต่ำ จำนวน 15 คน เพื่อเข้ากิจกรรมการเล่า"นิทานคณิต"เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที
             เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเล่า"นิทานคณิต"และแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 การดำเนินการทดลองได้แก่แบบแผนการทดลอง One-Group Pretest-Posttest Desingn และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test for dependent sample
               ผลการศึกษาพบว่าเด็กประถมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานคณิต มีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในทุกทักษะสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อจำแนกแล้ว พบว่า ในด้านการนับ การรู้ค่า ตัวเลข. การจับคู่. การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ. สูงขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01ในด้านการจัดประเภทสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญระดับ .05 

             

วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 2 วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559

เวลาเรียน  13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ
             ในช่วงต้นคาบอาจารย์ได้แจกกระดาษ แล้วให้หยิบกระดาษคนละใบ แค่กระดาษดันหมดก่อนที่จะแจกครบทุกคน แสดงว่ากระดาษน้อยกว่านักศึกษาหรือคนมากกว่า หรือกระดาษไม่พอ และถ้าอยากรู้ว่าคนมากกว่าเท่าไรให้นับจำนวนคนที่เหลือว่าขาดกี่ใบ ทำให้รู้การนับพื้นฐานการนับจำนวน หลังจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายการเขียน Mind Mapping เพื่อที่เราจะได้แบ่งเป็นส่วนไม่เขียนเป็นกลุ่มๆ และเขียนเนื้อหาได้มากขึ้น และแตกประเด็นได้เยอะ และดูสวยงาม

ทักษะ
  • ฝึกการวิเคาะห์แยกแยะ
  • ฝึกการคิดการวางแผน
  • รู้จักแก้ไขปัญหา
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำไปใช้ในการทำงาน เช่น การแจกนมเด็ก ถ้านมเหลือแสดงว่าเด็กน้อยกว่านม แสดงว่าจำนวนที่เหลือคือจำนวนที่เด็กไม่ได้มา ถ้าอยากรู้ว่าเหลือเท่าไรให้นับดูที่นม
บรรยากาศในห้องเรียน
  • ในห้องเรียนสนุกสนานเฮฮา แลกเปลี่ยนความคิดของกันและกัน  
ประเมินวิธีการสอน
  • สอนให้นักศึกษามีส่วนร่วม
  • สอนแบบสร้างสถานการณ์
  • สอนให้วางแผนอย่างเป็นระบบ
คุณธรรมจริยธรรม
  • รู้จักหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
  • ตรงต่อเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559 

เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

เนื้อหาที่เรียน/ความรู้ที่ได้รับ 

                 วันนี้เป็นวันแรกในการเรียนการสอนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์ได้แจกกระดาษให้ 1แผ่น และให้นักศึกษาแบ่งเป็น 3 ส่วนเท่าๆกันแล้วให้แบ่งให้เพื่อนคนละ 1แผ่น แล้วเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษ หลังจากนั้นอาจารย์จะทายว่าเป็นใคร และให้บอกชื่อกับจังหวัด แล้วอาจารย์ก็ถามว่าได้อะไรจากการแบ่งกระดาษบ้าง จากนั้นอาจารย์ก็พูดเกี่ยวกับการทำบล็อกว่าในบล็อกควรจะมีอะไรบ้าง และปล่อยให้ไปทำบล็อก

ทักษะ

  • การแก้ไขปัญหา
  • ฝึกการคิดวิเคราะห์
  • ฝึกทักษะการฟังการพูด

การประยุกต์ใช้


  • นำไปใช้ในการทำงานในอนาคต
  • นำไปใช้ในวิชาอื่นๆ

บรรยากาศในห้องเรียน


  • บรรยากาศในห้องเรียนสนุก เพื่อนทุกคนช่วยตอบคำถาม ไม่กดดัน 

ประเมินวิธีการสอน

  • อาจารย์สอนให้นักศึกษารู้จักคิดแก้ปัญหา  สอนให้รู้จักมีส่วนร่วมกับผู้อื่น 

คุณธรรมจริยธรรม

  •  มาเรียนตรงต่อเวลา
  • มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง