วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 7 วันศุกร์ที่ 19กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ได้แจกไม้ลูกชิ้นและดินน้ำมันให้ โดยจะมีไม้อยู่สามขนาดคือ ไม้สั้น ไม้กลาง ไม้ยาว ได้อย่างละ 6 อัน แล้วอาจารย์ก็สั่งให้ทำรูปสามเหลี่ยมโดยใช้วัสดุที่มี


ต่อมาอาจาร์ก็สั่งให้ทำรูปทรงสามเหลี่ยม 

แล้วก็รูปสี่เหลี่ยม

แล้วก็รูปทรงสี่เหลี่ยม
หลังจากนั้นอาจารย์ได้อธิบายวิธีการสอนและขั้นตอนในการนำเสนอคือ
วิเคราะห์โจทย์ แนวคิด --> ศึกษาวัสดุที่มีอยู่ --> ลงมือทำ --> ผลงาน --> นำเสนอ 
อาจารย์บอกว่าโจทย์มีวิธีการทำที่หลากหลายมีอิสระในการเลือกทำ ให้เกิดการเรียนรู้แก้ปัญหาและเวลามองรูปทรงต่างมุมรูปทรงก็จะไม่เหมือนเดิม
และเพื่อนๆได้นำเสนองาน
ทักษะ
-รู้จักแก้ไขปัญหา
-บูรณาการคณิตศาสตร์กับศิลปะ
-ได้ลงมีปฏิบัติ

การประยุกต์ใช้
-ให้เด็กเลือกทำอย่างอิสระแต่สามารถทำตรงกับโจทย์ที่ให้ 

บรรยากาศในห้องเรียน 
- เพื่อนๆไม่ค่อยคุย ทุกคนตั้งใจเรียน

ประเมินวิธีการสอน 
- อาจารย์สอนให้เราแก้ปัญหาโดยให้เราคิดวิธีเองและสุดท้ายอาจารย์ก็จะมาคอยสรุปให้

คุณธรรมจริยะธรรม
- มีความรับผิดชอบ
-มีน้ำใจ
-ตรงต่อเวลา

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 6 วันศุกร์ที่ 12กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
      ในวันนี้อาจารย์ได้แต่กระดาษคนละ 1 แผ่นและตีเส้นเป็น 2 ช่องกับ 3 ช่องในแนวตรงแต่ละช่องจะเว้น 1 เซนมี 10 ช่องในแนวยาว แล้วอาจารย์ก็ได้ให้เรา ระบายสีลงไปในช่องสี่เหลี่ยมสองช่อง ว่าได้กี่รูปและสามช่องว่าได้กี่รูป 

              กระดาษที่อาจารย์ให้ทำ

จากนั้นเพื่อนออกไปนำเสนอสามคน
คนแรก บทความเรื่องหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กประถมวัย
คนที่สอง สรุปวีดีโอการสอนเรื่องAbout kids 3
คนที่สาม  วิจัยทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ดูคลิป การจัดการเรียนรู้แบบProject Approdch ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์ ว่าสิ่งไหนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์บ้าง แล้วเกี่ยวกับอะไร 

ทักษะ
-การลงมือปฎิบัติ
-การฝึกฝน
-การลองผิด ลองถูก
-การคิดวิเคราะห์
-การสังเกต

การประยุกต์ใช้
กิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในห้องเรียนเราสามารถให้เด็กเรียนรู้ทางด้านคณิตศาสต์ในด้านต่างๆได้

บรรยากาศในห้องเรียน
-ทุกคนตั้งใจเรียนช่วยกันคิดและตอบคำถามแต่จะมีตอนท้ายท้ายที่รู้สึกง่วงนอน

ประเมินวิธีการสอน
-อาจารย์สอนให้รู้จักคิด เพื่อตอบคำถาม
-สอนวิธีการเรียนรู้ในแบบของเด็ก

คุณธรรมจริยธรรม
-มีความรับผิดชอบ
-ตรงต่อเวลา

วันจันทร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 5 วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 -17.30 น.

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ให้เอาป้ายชื่อจากสัปดาห์ที่แล้วไปแปะ ที่ตารางเวลามี ก่อน7โมง 7โมง และหลัง7โมง อาจารย์ได้อธิบายให้ฟังว่าแบบนี้ไม่สามารถใช้กับเด็กได้เพราะเด็กไม่สามารถจำเวลาได้ ถ้าจะทำกิจกรรมแบบนี้ควรให้เด็กจดบันทึกหรือให้ผู้ปกครองเป็นคนเขียน กิจกรรมนี้เด็กจะได้รู้เวลาก่อนหลัง ได้การนับจำนวน และกิจกรรมการเรียนการสอนไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในห้องเรียนแต่เกิดจากผู้ปกครองและความรู้รอบตัว
    กิจกรรมต่อมาอาจารย์เขียนเลขมา 4 ชุด แล้วก็ถามว่าเกี่ยวอะไรกับอาจารย์บ้าง 
หลังจากนั้นอาจารย์เอาสื่อปฏิทินมาให้ดู  ว่าสามารถประยุกต์ใช้สอนอะไรเด็กได้บ้าง คือสามารถสอนเรื่องสี การจัดหมวดหมู่ ตัวเลข เวลา บอกวันที่ผ่านมาได้ ได้รู้ก่อนหลัง 
   เกมการศึกษามี8ประเภท
ต่อมาเพื่อนนำเสนองาน วันนี้นำเสนอ4คน
คนแรก นางสาววนิดา สาเมาะ วิจัยเรื่อง การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์ด้านการละเล่น
คนที่สองนางสาวปรีชญา. ชื่นแย้ม นำเสนอตัวอย่างการสอน
คนที่สาม นางสาวเรณุกา. บุญประเสริฐ วิจัยเรื่องทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัยจากศิลปะสื่อผสม
คนที่4 รุ่นพี่ บทความเรื่องสอนคณิตอย่างไรให้สนุก 
หลังจากนั้นอาจารย์ให้แต่ละคู่ออกมานำเสนอของเล่น
  
ทักษะ
-ได้รู้จักเวลาก่อนหลัง
-ได้การนับจำนวน
-การจัดหมวดหมู่

การประยุกต์ใช้
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานในอนาคตเราสามารถประยุกต์กิจวัตรประจำวันมาสอดแทรกความรู้ให้กับเด็กได้


บรรยากาศในห้องเรียน
สนุกสนาน ไม่ค่อยเครียด

ประเมินวิธีการสอน
-อาจารย์สอนละเอียด
-อธิบายจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจ
-สอนให้เห็นถึงสถานการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
-ตรงต่อเวลา


  

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

การบันทึกครั้งที่ 4 วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ.2559. เวลาเรียน. 13.30 - 17.30

ความรู้ที่ได้รับ
       วันนี้อาจารย์ได้แจกแผนการสอน แล้วให้กระดาษแข็งมาคนละ 1ใบ ให้นักศึกษาเขียนชื่อของตัวเองลงไป และนำไปแปะบนกระดานในช่องของคนมาเรียน แล้วเขียนชื่อคนไม่มาไปแปะไว้ในช่องไม่มาเรียน จะได้รู้ว่าวันนี้นักเรียนขาดกี่คน มากี่คน
     จากกิจกรรมนี้นักเด็กจะได้ทักษะการนับ นับโดยการเพิ่ม บอกจำนวนได้ รู้จักเลขฮินดูอาราบิก รู้จักการเปรียบเทียบ บวกลบเลข ได้การเลียงลำดับใครมาคนแรก 
     ซึ่งเป็นกิจกรรมบูรณาการ ไม่ได้ตั้งใจสอนโดยเฉพาะ

กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์นี้ เลขที่ 1 2 4 เป็นคนนำเสนอ
คนแรก นางสาวสุริยาพร กลั่นบิดา นำเสนองานวิจัย นำเสนอ การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
    -เด็กปฐมวัยมีการเรียนรู้ที่ต่างกัน 
    -เด็กสามารถเรียนรู้จากรูปธรรมไปนามธรรม
    -เรียนรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัว

คนที่สอง นางสาวประวีณา หงสุด นำเสนอ VDO การสอน เจ้าแกะจอมฉลาด 
       เป็นวิธีการบวกเลขโดยวิธีการธรรมชาติ คือ การนับนิ้ว การร้องเพลง เช่น การบวกเลขหน้ามือกับหน้ามือ หลังมือกับหลังมือ และหน้ามือกับหลังมือ

คนที่สาม นางสาวปรียา นักทำนา นำเสนอบทความ ห้วข้อ เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
      - การนับ การรวมกลุ่ม การแยกกลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
 ต่อมาอาจารย์อธิบายเนื้อหาการเรียนเรื่อง "ความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
     - 1.การมีความคิดเชิงคณิตศาสตร์(Mathematical Thinking)
     -2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
     -3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
อาจารย์นำร้องเพลงคณิตศาสตร์

ทักษะ 
-การนับจำนวน
-การคิดวิเคาระห์
-การเปรียบเทียบ
-การบวก

การประยุกต์ใช้ 
สามารถนำไปปรับใช้ในการสอนในอนาคตโดยการบูรณาการกับกิจกรรมอื่นๆหรือของที่อยู่ภายในห้อง

บรรยากาศในห้องเรียน
ในห้องเรียน มีความเป็นกันเอง ไม่เครียด สนุกสนาน 

ประเมินวิธีการสอน
-สอบให้ประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ
-สอนให้นักเรียนมีส่วนร่วม 
-สอนให้เห็นถึงสถานการณ์จริง

คุณธรรมจริยธรรม
-ตรงต่อเวลา
-มีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน


การบันทึกครั้งที่ 3 วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ.2559 เวลาเรียน 13.30 - 17.30 น.

*ในสัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน แตอาจารย์ได้มอบหมายงานให้สรุปงานที่ตัวเองได้รับมอบหมาย